สูงวัย สูงค่า พึ่งพาตนเอง ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านศรีสุขเมืองทอง

บ้านศรีสุขเมืองทอง ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์พักฟื้นคนชรา บ้านพักคนชรา บ้านพักฟื้นคนชรา บ้านพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นคนชรา สถานพักฟื้นผู้ป่วยเรื้อรัง สถานดูแลผู้ป่วย สถานดูแลคนไข้ สถานดูแลผู้สูงวัย สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์ดูแลคนไข้ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพฤต ศูนย์ดูแลผู้พิการ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพาต ในรูปแบบที่พักมาตรฐานเยี่ยงโรงพยาบาล แต่บริการด้วยหัวใจ ใส่ใจเยี่ยงญาติสนิทผู้เป็นที่รัก ค่าบริการ ราคากันเอง ย่อมเยา

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น ให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการห้องพักที่สะอาดถูกสุขลักษณะ

ปรากฏการณ์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ของประเทศไทย คือการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14 ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ด้วยประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ 10.5 และ 15.3 ในพ.ศ.2548 และ 2557 ตามลำดับ และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 20.5 ในปี 2565 หรือ 1 ใน 5 ของประชากรจะเป็นประชากรผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพหลายด้านมากกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ อาทิ ข้อเข่าเสื่อม การได้ยินฟัน ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า จากการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2550 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาการได้ยิน ร้อยละ 15.6 มีปัญหาในการมองเห็นร้อยละ 46.3 มีฟันแท้เหลือน้อยกว่า20 ซี่ร้อยละ 48.6 สมองเสื่อม ร้อยละ 5.0 ปัญหาข้อเข่าเสื่อมร้อยละ 9.0 ร้อยละ 41.1 ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 63.1 รับประทานผักสดและผลไม้สดเป็นประจำ ผู้สูงอายุดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอเป็นประจำ คือดื่มวันละไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว ร้อยละ 57.0 พฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และเคี้ยวหมากเป็นประจำ

จากสภาพปัญหาดังกล่าว คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) จัดทำแผนผู้สูงอายุ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2554-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุ 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ (2) การส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ (3) ระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ (4) การบริหารจัดการเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุอย่างบูรณาการระดับชาติและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ (5) การประมวลพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการติดตามประเมินผล ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ (1) สนับสนุน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการคัดกรอง Geriatric Syndromes (2) การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพเชื่อมโยงจากสถานบริการสู่ชุมชน (3) พัฒนาการมีส่วนร่วมของสถานพยาบาลครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยยังคงมีศักยภาพคือมีภาวะสุขภาพแข็งแรง ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ ควรมีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมด้านสุขภาพและการช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนสมาชิก และทำประโยชน์ให้กับสังคม ช่วยบรรเทาปัญหาที่เพื่อนผู้สูงอายุเผชิญอยู่ จากประสบการณ์ที่ยาวนานทำให้ชมรมผู้สูงอายุเป็นกลไกลที่สำคัญในการดำเนินงานผู้สูงอายุ ดังนั้นการส่งเสริมและพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ

กรมอนามัยเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จึงได้ถอดบทเรียนชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ “สูงวัย สูงค่า พึ่งพาตนเอง” (Aging Self Care) เพื่อเป็นชุดความรู้การพัฒนาให้แก่ชมรมผู้สูงอายุและภาคีเครือข่ายใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ซึ่งชุดความรู้นี้ได้จากการจัดการความรู้ (Tacit Knowledge)ที่ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ให้เป็นองค์ความรู้ที่เป็นระบบ (Explicit Knowledge) ง่ายต่อการเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ สามารถใช้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุในชุมชน

กระบวนการจัดการชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ “สูงวัย สูงค่า พึ่งพาตนเอง” (Aging Self Care) ประกอบด้วย 14 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดประเด็น Tacit Knowledge Agenda (TKA) โดยคัดเลือกจาก Mission (Work Instruction) ภารกิจที่ทำและประสบความสำเร็จ ความต้องการของลูกค้า (Customer Needs) มาตรฐาน (Standard) ที่ใช้ในงานผู้สูงอายุBest Practice และStrategic for Change & Growth โดยมีเกณฑ์การเลือกเรื่องที่จะมาจัดการความรู้ ดังนี้คือ เป็นปัญหาที่เร่งด่วน ในการจัดการ ทิศทางของประเทศ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงความเป็นไปได้ และความคุ้มค่า พบว่าการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุเป็นประเด็นความสำเร็จที่ควรถอดบทเรียนมากที่สุด

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุKnowledge Objective and Goal) การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุเพื่อรวบรวมองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการตนเองของผู้สูงอายุผ่านกระบวนการชมรมผู้สูงอายุ อีกทั้งเป็นแนวทางปฏิบัติในการนำศักยภาพของผู้สูงอายุมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชน และการพัฒนาสังคมโดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม

ขั้นตอนที่ 3 การถอดชุดความรู้ เพื่อสร้างแกนความรู้ซึ่งเป็นการบริหารจัดการ Tacit Knowledge ให้เป็น Explicit Knowledge ชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ “สูงวัย สูงค่า พึ่งพาตนเอง” (Aging Self Care)

ประกอบด้วย แกนความรู้ 5 แกน ดังนี้
1) การส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้สูงอายุ (Up Stream)
2) การพัฒนาชมรมและกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (Main Stream)
3) การจัดการคุณค่าเพิ่มจากผู้สูงอายุ (Main Stream)
4) การติดตามและประเมินชมรมผู้สูงอายุและสภาวะด้านสุขภาพ (Main Stream)
5) การสร้างความความยั่งยืนของชมรมผู้สูงอายุในชุมชน (Down Stream)

ขั้นตอนที่ 4 การสร้างแนวปฏิบัติของแกนความรู้ เป็นการค้นหากิจกรรมร่วมของแกนความรู้ในแต่ละแกนความรู้

ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำ Knowledge Process Flow (Knowledge Blueprint) เป็นขั้นตอนความรู้แสดงให้เห็นกิจกรรมก่อน – หลัง มีความเชื่อมโยงอย่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุดความรู้ย่อย เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม ผู้รับผิดชอบผลผลิต เห็นกระบวนทั้งหมด (Total View)

ขั้นตอนที่ 6 การกำหนดผลสัมฤทธิ์และการวัดผล ในแต่ละแกนความรู้ต้องมีผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังคือ Output Outcome Impact และการวิธีวัดผลสัมฤทธิ์

ขั้นตอนที่ 7 การทวนสอบความสมบูรณ์ของชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุเป็นการถอดTacit Knowledge to Explicit Knowledge แล้วทำการทวนสอบเอกสารโดยการประชุมกลุ่มรับฟังความคิดเห็นการเชิญผู้เชี่ยวชาญ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณา

ขั้นตอนที่ 8 การอนุมัติชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ โดยจัดทำเป็นรูปเล่มและให้ผู้บริหารลงนามเพื่อนำชุดความรู้ไปสู่การฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 9 การจัดระบบชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุสู่การใช้ประโยชน์โดยการสร้าง Brand ความรู้ และจัดทำแผนการตลาดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 10 การสร้างแกนนำผู้เชี่ยวชาญของชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ

ขั้นตอนที่ 11 การสื่อสารเผยแพร่ชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุสู่การเรียนรู้และการปฏิบัติตามหลักการตลาดเพื่อสร้างคุณค่าของชุดความรู้ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติ ช่องทางการสื่อสาร และการส่งเสริมการเข้าถึง

ขั้นตอนที่ 12 การเลือกหน่วยปฏิบัติการเพื่อการใช้ประโยชน์ชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุและการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 13 การติดตามและประเมินผลการใช้ชุดความรู้การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการ และติดตามประเมินระหว่างและหลังการใช้ชุดความรู้ ด้านความรู้ ความเข้าใจการแปลงความรู้สู่การปฏิบัติ ความสามารถการจัดการชุดความรู้ให้บรรลุผล ปัญหาอุปสรรคด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์การบริหารจัดการ การตลาด เทคโนโลยี และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการใช้ชุดความรู้

ขั้นตอนที่ 14 การสรุปบทเรียน ต่อยอดความรู้สู่คุณค่าที่ยั่งยืน สรุปบทเรียนและพัฒนาศักยภาพในการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องให้ได้ซึ่งบทเรียนของการใช้ชุดความรู้ในการนำมาพัฒนาองค์ความรู้ต่อไป

ทั้งนี้แกนความรู้ทั้ง 5 แกนนี้ ครอบคลุมวัตถุประสงค์ในการที่ชมรมผู้สูงอายุและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาชมรมผู้สูงอายุให้เป็นกลไกที่สำคัญในการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่กับครอบครัว ชุมชนอย่างมีความสุข

รายละเอียด สูงวัย สูงค่า พึ่งพาตนเอง (PDF)