อันตรายจากการ “หกล้ม” ของผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้านศรีสุขเมืองทอง

บ้านศรีสุขเมืองทอง ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์พักฟื้นคนชรา บ้านพักคนชรา บ้านพักฟื้นคนชรา บ้านพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นผู้ป่วย สถานพักฟื้นคนชรา สถานพักฟื้นผู้ป่วยเรื้อรัง สถานดูแลผู้ป่วย สถานดูแลคนไข้ สถานดูแลผู้สูงวัย สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงวัย ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์ดูแลคนไข้ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพฤต ศูนย์ดูแลผู้พิการ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัมพาต ในรูปแบบที่พักมาตรฐานเยี่ยงโรงพยาบาล แต่บริการด้วยหัวใจ ใส่ใจเยี่ยงญาติสนิทผู้เป็นที่รัก ค่าบริการ ราคากันเอง ย่อมเยา

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น ให้การดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการห้องพักที่สะอาดถูกสุขลักษณะ

เคยได้ยินเรื่องที่ว่า “คนแก่อย่าลืม” กันบ้างไหม ? เพราะเชื่อกันว่า หากผู้สูงอายุสะดุดล้ม หรือหน้ามืดเป็นลมล้มลงกระแทกพื้นอย่างแรงไปครั้งหนึ่งแล้ว มีความเป็นไปได้ว่าสุขภาพร่างกายอาจไม่กลับมาแข็งแรงดังเดิมได้อีก ความเชื่อนี้เป็นความจริงอยู่บ้าง เพราะคนสูงวัยจะเกิดอันตรายต่อร่างกายมากกว่าคนในวัยอื่น ๆ เมื่อหกล้ม


อันตรายจากการ “หกล้ม” ของผู้สูงอายุ

นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะหกล้ม และเกิดอันตรายกับร่างกายได้มากกว่าคนวัยอื่น ๆ เนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย เช่น กระดูก กล้ามเนื้อต่าง ๆ ที่ทำให้สูญเสียการทรงตัวได้ง่าย ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง เช่น แขน ขา ศีรษะ สะโพก เข่า หลัง ฯลฯ โดยอาการบาดเจ็บเหล่านี้มีตั้งแต่เจ็บปวดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่กี่วันหาย ไปจนถึงปวดเรื้อรังรักษาเป็นเดือน ๆ หรืออาจอันตรายถึงชีวิตได้


ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ

        • การเปลี่ยนแปลงของสายตา สายตาสั้น-ยาว หรืออาจสายตาพร่ามัวโรคตาต่าง ๆ ที่อาจทำให้กะคาดคะเนการหยิบจับ หรือเดินได้ไม่สะดวกนัก
        • สภาพกระดูกข้อต่อ และเอ็น ที่เสื่อมสภาพลง
        • ระบบทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น เสี่ยงลื่นล้มในห้องน้ำได้มากกว่าเดิม
        • โรคประจำตัวต่าง ๆ
        • การใช้ยาบางชนิด ที่อาจมีความเสี่ยงทำให้ง่วงนอน เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต ฯลฯ
        • พื้นบ้าน ที่อาจมีสิ่งกีดขวาง ที่อาจทำให้สะดุดหกล้มได้ง่าย
        • สภาพแสงไฟภายในบ้านที่อาจจะมืดสลัวไปจนยากต่อการมองเห็น
        • ขั้นบันได ที่สูงหรือแคบเกินไป ทำให้เดินไม่สะดวก
        • ห้องน้ำ ที่พื้นห้องน้ำเปียก หรือลื่นเกินไป
        • ห้องครัว ที่อาจคับแคบ และมีของใช้ในครัวเรือนที่จัดเอาไว้ไม่เป็นระเบียบ
        • รองเท้าของผู้สูงอายุ ที่อาจไม่เหมาะสม ไม่สามารถยึดเกาะพื้นได้ดี หรือไม่สบายเท้า ทำให้สะดุดหกล้มได้ง่าย

วิธีลดความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ

นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีลดความเสี่ยงของการหกล้มที่ได้ผลมากที่สุดคือ การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกและข้อต่อ ช่วยเรื่องการทรงตัว การเดิน การเคลื่อนไหวของร่างกายได้คล่องแคล่วมากขึ้น ทำให้อัตราการหกล้มลดลง แต่ต้องเลือกท่าทางให้เหมาะกับบุคคลด้วย


แนวทางป้องกันการเสี่ยงต่อการหกล้ม

        1. เลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับเท้า พื้นรองเท้ามีดอกหรือไม่ลื่น วัสดุมีความยืดหยุ่น ระบายอากาศได้ดี
        2. ใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน
        3. ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม่ำเสมอ
        4. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้าน ให้โปร่งโล่ง เดินสบาย และมองเห็นทุกพื้นที่ได้อย่างชัดเจน
        5. กินยาให้ถูกต้อง หากยามีผลข้างเคียงให้ง่วงซึม ควรรับประทานแล้วไม่ลุกเดินไปไหน นั่งหรือนอนอยู่นิ่ง ๆ เท่านั้น
        6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย
        7. สังเกตอาการข้างเคียงอื่น ๆ หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ที่มา : https://www.sanook.com/health/19869/